21 ต.ค. 2555

คนพิการหรือคนทั่วไปกับสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมมาตรา40

คนที่ประกอบอาชีพอิสระและคนพิการกับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อไปทำประกันสังคมมาตรา40

จากการที่ผมเดินทางไปสมัครทำประสังคมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนอาจอยากรู้ว่าทำไปแล้วได้อะไร ผมจึงนำเอาสิทธิประโยชน์ของผู้สมัครทำประกันสังคมมาตรา40 ที่ใครๆก็สามารถทำได้มาอธิบายให้ฟัง เหมาะสำหรับใครก็ได้ที่ประกอบอาชีพอิสระ และบุคคลที่ไม่ได้ทำงานราชการหรือไม่ได้ทำงานกับเอกชนที่เขาต้องบังคับให้ทำประกันสังคมมาตรา 39 (ติดตามเรื่องสิทธิประโยคของคนพิการในมาตรา39นี้ในตอนต่อไป)

คนพิการหรือใครๆก็ทำประกันสังคมได้กับสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมมาตรา40

ไม่จำเป็นต้องเป็นคนพิการเท่านั้น คนธรรมดาที่่ประกอบอาชีพอิสระ พ่อค้า แม่ค้า ผู้ใช้แรงงาน รับจ้างทั่วไปก็ทำได้
คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา40
1.ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ณ.วันสมัคร
2.ไม่เป็นผู้ประกันตนตามาตรา33(ไม่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ) หรือผู้ประกันตนตามมาตรา39
3.สมัครโดยลงลายมือชื่อใบสมัครด้วยตนเองพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวบัตร ประชาชนและจ่ายเงินสมทบงวดแรกได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
4.การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 มี 2 แบบคือ
แบบที่1 จ่าย 100 บาท/เดือน(จ่ายเอง70บาท รัฐสนับสนุน30บาท) หรือแบบ ง่ายๆคือเราเสียแค่70บาท
แบบที่2 จ่าย150บาท/เดือน[จ่ายเอง100บาท รัฐสนับสนุน50บาท] หรือแบบ ง่ายๆคือเราเสียแค่100บาท
5.ความเป็นผู้ประกันตนจะเริ่มตั้งแต่วันที่จ่ายเงินสมทบงวดแรก
รัฐสนับสนุนในระยะแรกทั้งนี้จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่น

การรับผลประโยชน์ทดแทน
1.เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ต้องจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 3 เดือนภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่เจ็บป่วย
2.เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ดังนี้
-จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาท ต่อเดือน
-จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาท ต่อเดือน
-จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาท ต่อเดือน
-จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาท ต่อเดือน
กรณีตาย
ต้องจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือนภายในระยะเวลา 12 เดือนก่อนเดือนที่ถึงแก่ความตาย จะได้เงินค่าทำศพ 20,000
กรณีชราภาพ
1.ต้องจ่ายเงินสมทบทางเลือกที่2
2.มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนต่อไป[ลาออก]จะได้เงินทดแทนจำนวน 500-1000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา15ปีขึ้นไป
ถ้านอนโรงพยาบาล ต้องนอนไม่ต่ำกว่า2วันขึ้นไปได้คืนละ200บาท/วัน แต่ให้สิทธิได้ไม่เกิน20วันต่อปี

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง สิทธิประโยชน์แบบที่ 1 และแบบที่ 2 มีดังต่อไปนี้
• แบบที่ 1 สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ
• แบบที่ 2 สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ เงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออมกรณีชราภาพ)

น่าไปทำไหมละ เพื่อหลักประกันในชีวิต ดีกว่าไม่คิดถึงคนที่อยู่ข้างหลัง
มนูญ ชมภู ผู้จัดหาข้อมูล Admin เรียบเรียงเพิ่มเติม
ประกันสังคมกับสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมมาตรา40

ไม่มีความคิดเห็น: