22 ต.ค. 2555

กสทช.ให้ความสำคัญกับคนพิการในเรื่องสิทธิการสื่อสารเพื่อคนพิการ

กสทช.ให้ความสำคัญกับคนพิการในเรื่องสิทธิในการสื่อสารเพื่อคนพิการโดยจัดเสวนา เรื่อง"ส่งเสริมสิทธิการสื่อสารเพื่อคนพิการในยุคดิจิตอล"

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สานักงาน กสทช.) ได้จัดงานเวทีเสวนา NBTC Public Forum ครั้งที่ ๘ เรื่อง “ส่งเสริมสิทธิการสื่อสารเพื่อคนพิการในยุคดิจิตอล” ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมเวทีประกอบด้วย กลุ่มคนพิการทุกประเภท ผู้แทนจากสมาคม/องค์กรด้านคนพิการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผู้แทนผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม จำนวนกว่า ๒๐๐ คน

กสทช.ให้ความสำคัญกับคนพิการในเรื่องสิทธิการสื่อสารเพื่อคนพิการ

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยว่า ปัจจุบันการสื่อสารด้านกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ถือเป็นสิ่งสาคัญและจำเป็นในลำดับต้นๆ ของประชาชน ในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งทางสำนักงาน กสทช. ได้เล็งเห็นถึงความสาคัญในเรื่องการส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมได้รับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนพิการที่อาจจะขาดโอกาสและความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่รอบตัวในยุคปัจจุบันหรือเรียกได้ว่าเป็นยุคดิจิตอล และเชื่อว่ากลุ่มคนพิการก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมพัฒนาประเทศ หากได้รับการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเช่นเดียวกับประชาชนทุกภาคส่วนในสังคม

จากที่ดังกล่าวมาข้างต้นถือเป็นเรื่องสาคัญที่ทุกภาคส่วน รวมทั้งกลุ่มคนพิการจะต้องรู้ เข้าใจ ให้และมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็นที่เป็นรูปธรรม เพื่อที่ กสทช. จะได้นำไปใช้ในการกำหนดทิศทางเพื่อส่งเสริมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ในการเสวนากลุ่มย่อยเพื่อระดมความเห็นในประเด็นส่งเสริมสิทธิคนพิการได้แบ่งเป็น ๒ ด้านได้แก่ ๑)ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และ ๒) ด้านกิจการโทรคมนาคม โดยแต่ละด้านมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้

ประเด็นส่งเสริมสิทธิคนพิการด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้แก่ ๑) จัดรายการสำหรับเด็กพิการในลักษณะเดียวกันกับรายการ “เจ้าขุนทอง” ๒)จัดรายการเกี่ยวกับคนพิการในเวลาที่คนส่วนใหญ่ดูพร้อมกันได้ ๓)จัดรายการเกี่ยวกับศักยภาพของคนพิการแต่ละประเภทในการทำกิจกรรมต่างๆ ๔) จัดรายการเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ โดยเฉพาะการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่สาธารณะ ๕) กระจายโอกาสให้คนพิการมีส่วนร่วมในการจัดรายการสู่ระดับภูมิภาค ๖) ประชาสัมพันธ์เรื่อง สิทธิของคนพิการในรูปแบบสื่อโฆษณา ๗) จัดรายการเพื่อปรับเจตคติของคนทั่วไป รวมถึงข้าราชการให้ให้ตระหนักรู้ และให้บริการคนพิการตามสิทธิอย่างถูกต้องและเหมาะสม ๘) จัดรายการนำเสนอการดำเนินชีวิตของคนพิการระดับรากหญ้ากับครอบครัว ๙)จัดรายการให้ความรู้เรื่องคนพิการแต่ละประเภท และแต่ละระดับความพิการ ๑๐)จัดรายการที่แสดงว่าคนพิการทุกประเภทสามารถดำรงชีวิตร่วมกับคนทั่วไปในสังคม ๑๑)สอดแทรกเรื่องคนพิการเชิงสร้างสรรค์ในละคร ๑๒) จัดรายการในรูปแบบที่คนทั่วไป และคนพิการดูร่วมกันได้ ๑๓) จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการจัดรายการเกี่ยวกับคนพิการ และ ๑๔)ส่งเสริมคนพิการให้มีส่วนร่วมผลิตรายการ โดยร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมดำเนินการ

ประเด็นส่งเสริมสิทธิคนพิการด้านกิจการโทรคมนาคม ได้แก่ ๑) สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ๒) สนับสนุนงบประมาณคนพิการให้สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท และ ๓) กระจายการบริการด้านโทร คมนาคมแก่คนพิการสู่ระดับภูมิภาค พร้อมกันนั้น ได้นำเสนอ ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ๑)การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของคนพิการ ๒) การส่งเสริมความตระหนักรู้และสิทธิในการปกป้องตนเองของคนพิการ ๓)การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือขายคนพิการ และ ๔)การเฝ้าระวัง ประเมิน ติดตาม และกำกับดูแลการให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่คนพิการ ส่วนแนวทางการดำเนินงานประกอบด้วย ๑) ทุกภาคส่วน เช่น กสทช. ภาคีภาครัฐ องค์กรส่วนท้องถิ่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น มีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดบริการด้านโทรคมนาคมแก่คนพิการ ๒) ส่งเสริมคนพิการให้มีส่วนร่วมจัดบริการฯ ๓) วิจัยและพัฒนา รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์โทรคมนาคม ๔) ส่งเสริมการทำงานเชื่อมโยงกันทุกภาคส่วนเพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการฯ ๕)เผยแพร่ความรู้และจัดบริการสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท ๖)ส่งเสริมการรณรงค์เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการฯ อย่างทั่วถึง และ ๗)ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนพิการในการกำหนดนโยบาย จัดบริการฯ รวมถึงการติดตาม ดูแลให้เกิดผลดำเนินการอย่างแท้จริง

กสทช.สุภิญญาฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า หวังว่า งานเวทีในวันนี้จะเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคนพิการเอง หรือผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตระหนัก และหันมาให้ความสนใจ ร่วมกันดำเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนทุกกลุ่มในการสื่อสาร เพื่อให้กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกิดประโยชน์แก่ คนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะด้านวิทยุและโทรทัศน์ ที่จะต้องไม่ละเว้น ละเลย หรือละเมิดบุคคลใด ซึ่ง กสทช. เอง ก็คงมีแผนการดาเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป
แหล่งข่าว : (ข่าวประชาสัมพันธ์ กสทช./มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๗ ต.ค.๕๕)

อ่านข่าวดีคนพิการทั่วไทยสามารถยืมอุปกรณ์เกี่ยวกับIT เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้แล้ว
กสทช.ให้ความสำคัญกับคนพิการในเรื่องสิทธิการสื่อสารเพื่อคนพิการ

ไม่มีความคิดเห็น: