24 ต.ค. 2555

คนพิการขยับได้แค่หัวก็บังคับวีลแชร์ได้ สุดยอดสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการ Brain Control Wheelchair

สุดยอดนักศึกษาไทยประดิษฐ์วีลแชร์บังคับด้วยศีรษะได้ สุดยอดสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการBrain Control Wheelchair

เบรน คอนโทรล วีลแชร์ หรือ รถวีลแชร์ไฟฟ้าสั่งการด้วยสัญญาณสมอง เครื่องนี้เป็นของทีมนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นก้าวเล็กๆ ที่จะช่วยปลดปล่อยเสรีภาพให้แก่ผู้พิการ โดยผลงานชิ้นนี้ได้รับการพัฒนากว่า 2 ปีและได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 9 ผลงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการของนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งภายในการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 5 หรือ ไอ ครีเอท 2011 และในวันนี้ได้นำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการวิชาการ เปิดโลกวิศวกรรมชีวการแพทย์ ครั้งที่ 2 โดยนายคุณาวัฒน์ ล่วงรัตน์ หนึ่งในสมาชิกทีมผู้พัฒนาระบบ เบรน คอนโทรล วีลแชร์นี้ กล่าวว่า ที่พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้พิการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนขา หรือพิการตั้งแต่ช่วงคอลงไป โดยยึดหลักสำคัญคือ ผู้พิการต้องใช้งานได้ง่ายและระบบต้องมีความปลอดภัยต่อผู้พิการ รวมทั้งเป็นทางเลือกให้คนพิการที่สามารถมีชีวิตได้ด้วยตัวเอง และมีกำลังใจให้ผู้พิการมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไม่ท้อแท้

คนพิการขยับได้แค่หัวก็บังคับวีลแชร์ได้ สุดยอดสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการBrain Control Wheelchair



ปัจจุบันมีการส่งออกเครื่องมือแพทย์หมื่นล้านบาทต่อปี และนำเข้ากว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อปี หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รัฐบาลได้มีการผลักดันด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้น ส่งผลให้นักศึกษาที่จบการศึกษาในภาควิชานี้เข้าไปสู่ภาคอุตสหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมการแพทย์

นอกจากผลงาน เบรน คอนโทรล วีลแชร์แล้วภายในงานยังมีอีก 14 ผลงานของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์มาจัดแสดง เช่น เครื่องไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ หุ่นยนต์ที่ทำให้ผู้เดินไม่ได้เดินได้ การนำสัญญาณสมองมาบำบัดด้านสมาธิ โดยอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ภาควิชานี้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ครบทุกระดับการศึกษา โดยมีเครือข่ายข้อมูลรวมทั้งทรัพยากรทางด้านการแพทย์ที่เข้ามาร่วมทำการวิจัยด้วย

ทั้งนี้ วิศวกรรมชีวการแพทย์จะต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ด้วย และสามารถพัฒนาอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ได้เป็นจำนวนหลายๆคน รวมทั้งเป็นการมุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยในระดับการแข่งขันหรือเทียบเท่ามหาวิทยาลัยแนวหน้าในระดับนานาชาติ
ข้อมูลจาก Voice TV
ดู EyeCan เม้าส์สำหรับคนพิการทีขยับแขนขาไม่ได้
คนพิการขยับได้แค่หัวก็บังคับวีลแชร์ได้ สุดยอดสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการBrain Control Wheelchair

ไม่มีความคิดเห็น: