ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่พร้อมที่สุดสำหรับนักศึกษาที่เป็นคนพิการ ผลิตบัณฑิตพิการ รุ่น 6 รับใช้สังคมเพิ่ม 13 ราย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตคนพิการรับใช้สังคมเพิ่มอีก 13 ราย โดยกำหนดเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2554 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นสถาบันทางการศึกษาที่ให้โอกาสกับคนพิการในการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้งทางลาด ลิฟท์ จนถึงรถวีลแชร์ไฟฟ้าและรถสามล้อดัดแปลงให้นักศึกษาได้ยืมใช้ มีคณะต่างๆให้คนพิการได้เลือกเรียนมากถึง 15 คณะ
ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่พร้อมที่สุดสำหรับนักศึกษาที่เป็นคนพิการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ริเริ่ม “โครงการนักศึกษาพิการ” และเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีโอกาสทางการศึกษาในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคภาษาไทย ตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันมีคณะที่ให้โค้วตานักศึกษาพิการ จำนวน 15 คณะ ประกอบด้วย คณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
ปีการศึกษา 2554 มีบัณฑิตในโครงการนักศึกษาพิการสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 13 ราย จาก 6 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ 3 ราย คือ นางสาวภัทรสุดา วรสาร (บัณฑิตพิการมือขวาใช้การไม่ได้) นายอภิชัย มิ่งวงศ์ธรรม (บัณฑิตพิการทางสายตา) และนางสาวสุเนตรา วณิชกุล (บัณฑิตพิการทางสายตา) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 1 ราย คือ นางสาวธันยธรณ์ สุขจิตต์ (บัณฑิตพิการทางการเคลื่อนไหว) คณะรัฐศาสตร์ 4 ราย คือ นายสุทัศ วิมลสม (บัณฑิตพิการทางสายตา) นางสาวเหมือนแพร วัฒนะโชติ (บัณฑิตพิการทางการได้ยิน) นางสาวศิริพร เล็กโสภี (บัณฑิตพิการทางสายตา) และนายณัทธร อินบาง(บัณฑิตพิการทางสายตา) คณะศิลปศาสตร์ 2 ราย คือ นางสาวอิทธินาฏ ยิ่งศิริ (บัณฑิตพิการสายตาเรือนราง) นางสาวฐิติกาญ สุนทรวิรุฬโรฒ (บัณฑิตพิการทางสายตา) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 2 ราย คือ นางสาววริศรา สอนจิตร (บัณฑิตพิการทางการเคลื่อนไหว) นางสาวสอง แสงรัสมี (บัณฑิตพิการทางการเคลื่อนไหว) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง 1 ราย คือ นางสาวอัจฉรา นันทยานนท์ (บัณฑิตพิการมือซ้าย-ขวา)
“บัณฑิตพิการรุ่นที่ 6 นับเป็นผลผลิตที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความรู้และพร้อมเปิดโอกาสทางการศึกษาแก่นักศึกษาพิการ ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาพิการเหล่านี้ได้นำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ได้จากรั้วเหลืองแดงไปทำประโยชน์และรับใช้สังคมต่อไป”
นอกจากจะผลิตบัณฑิตพิการแล้ว ธรรมศาสตร์ยังมีนักศึกษาดีกรี มิสวีลแชร์2012 อีกด้วย
มหาวิทยาลัยต่างๆตามต่างจังหวัด ควรเปิดกว้างเพื่อรับคนพิการเข้าศึกษาให้มากขึ้น คนพิการที่อยู่ต่างจังหวัดจะได้มีหนทางและโอกาสทางการศึกษามากขึ้น เหมือนกับธรรมศาสตร์ ขอที่ยืนในสังคมให้คนพิการรุ่นต่อๆไปด้วยเถอะครับ
เนื้อหาบางส่วนจาก ผู้จัดการออนไลน์ 30 สิงหาคม 2555
ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่พร้อมที่สุดสำหรับนักศึกษาที่เป็นคนพิการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตคนพิการรับใช้สังคมเพิ่มอีก 13 ราย โดยกำหนดเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2554 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นสถาบันทางการศึกษาที่ให้โอกาสกับคนพิการในการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้งทางลาด ลิฟท์ จนถึงรถวีลแชร์ไฟฟ้าและรถสามล้อดัดแปลงให้นักศึกษาได้ยืมใช้ มีคณะต่างๆให้คนพิการได้เลือกเรียนมากถึง 15 คณะ
ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่พร้อมที่สุดสำหรับนักศึกษาที่เป็นคนพิการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ริเริ่ม “โครงการนักศึกษาพิการ” และเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีโอกาสทางการศึกษาในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคภาษาไทย ตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันมีคณะที่ให้โค้วตานักศึกษาพิการ จำนวน 15 คณะ ประกอบด้วย คณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
ปีการศึกษา 2554 มีบัณฑิตในโครงการนักศึกษาพิการสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 13 ราย จาก 6 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ 3 ราย คือ นางสาวภัทรสุดา วรสาร (บัณฑิตพิการมือขวาใช้การไม่ได้) นายอภิชัย มิ่งวงศ์ธรรม (บัณฑิตพิการทางสายตา) และนางสาวสุเนตรา วณิชกุล (บัณฑิตพิการทางสายตา) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 1 ราย คือ นางสาวธันยธรณ์ สุขจิตต์ (บัณฑิตพิการทางการเคลื่อนไหว) คณะรัฐศาสตร์ 4 ราย คือ นายสุทัศ วิมลสม (บัณฑิตพิการทางสายตา) นางสาวเหมือนแพร วัฒนะโชติ (บัณฑิตพิการทางการได้ยิน) นางสาวศิริพร เล็กโสภี (บัณฑิตพิการทางสายตา) และนายณัทธร อินบาง(บัณฑิตพิการทางสายตา) คณะศิลปศาสตร์ 2 ราย คือ นางสาวอิทธินาฏ ยิ่งศิริ (บัณฑิตพิการสายตาเรือนราง) นางสาวฐิติกาญ สุนทรวิรุฬโรฒ (บัณฑิตพิการทางสายตา) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 2 ราย คือ นางสาววริศรา สอนจิตร (บัณฑิตพิการทางการเคลื่อนไหว) นางสาวสอง แสงรัสมี (บัณฑิตพิการทางการเคลื่อนไหว) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง 1 ราย คือ นางสาวอัจฉรา นันทยานนท์ (บัณฑิตพิการมือซ้าย-ขวา)
“บัณฑิตพิการรุ่นที่ 6 นับเป็นผลผลิตที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนความรู้และพร้อมเปิดโอกาสทางการศึกษาแก่นักศึกษาพิการ ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาพิการเหล่านี้ได้นำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ได้จากรั้วเหลืองแดงไปทำประโยชน์และรับใช้สังคมต่อไป”
นอกจากจะผลิตบัณฑิตพิการแล้ว ธรรมศาสตร์ยังมีนักศึกษาดีกรี มิสวีลแชร์2012 อีกด้วย
มหาวิทยาลัยต่างๆตามต่างจังหวัด ควรเปิดกว้างเพื่อรับคนพิการเข้าศึกษาให้มากขึ้น คนพิการที่อยู่ต่างจังหวัดจะได้มีหนทางและโอกาสทางการศึกษามากขึ้น เหมือนกับธรรมศาสตร์ ขอที่ยืนในสังคมให้คนพิการรุ่นต่อๆไปด้วยเถอะครับ
เนื้อหาบางส่วนจาก ผู้จัดการออนไลน์ 30 สิงหาคม 2555
ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่พร้อมที่สุดสำหรับนักศึกษาที่เป็นคนพิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น